วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปราสาทวัดโคกงิ้ว

ตั้งอยู่ภายในวัดโคกงิ้ว บ้านโคกงิ้ว ต.ปะคำ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ สันนิษฐานว่า เป็นอโรคยาศาล (โรงพยาบาล) ในจำนวน 102 แห่งที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลให้กับประชาชน ตามคตินิยมเรื่องพระโพธิสัตว์ของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน
ปราสาทวัดโคกงิ้ว เป็นโบราณสถานศิลปะขอม ตามแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปรางค์ประธานซึ่งก่อด้วยศิลาแลง  วิหาร กำแพงแก้ว ซุ้มประตู สระน้ำ และยังมีประติมากรรมหินทรายรูปทิพยบุคคล 2 องค์ คือ พระไภษัชยคุรุ และ พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร และพบแผ่นสำริดรูปวงโค้ง ขนาด 13.5 × 21.7 ซ.ม. จารึกด้วยอักษรขอม

เเหล่งหินตัด


                                 เเหล่งหินตัด

ที่อยู่ :หมู่บ้านสายตรี 3 และ 4 อำเภอบ้านกรวด บุรีรัมย์
 เบอร์โทร : +66 4451 4447-8
วันเปิดทำการ : ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 17.00

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว
แหล่งหินตัด  ตั้งอยู่ในวัดป่าธรรมศิลาราม และบริเวณหมู่บ้านสายตรี 3 และสายตรี 4  ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กิโลเมตร บนเส้นทางบ้านกรวด-ตาพระยา (ทางหลวงหมายเลข 224 กิโลเมตรที่ 146)  และแยกจากถนนใหญ่ไปอีก 3 กิโลเมตร ทางคอนกรีตตลอดสาย  สอบถามข้อมูลที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร.044-666251-2

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยานางรองซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองบุรีรัมย์ 

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

พระบรมธาตุเจดีย์วัดเกาะเเก้ว วัดระหาน

พระบรมธาตุเจดีย์วัดเกาะแก้ว (วัดระหาน)

ตำบล/แขวงบ้านด่าน อำเภอ/เขตบ้านด่าน ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ 31000
อยู่ที่ ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะขององค์พระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะประยุกต์ร่วมสมัยความสูง ๖๐ เมตร มี ๔ ชั้น ชั้นที่ ๑ ใช้ประโยชน์เป็นศาลาอเนกประสงค์ ชั้นที่ ๒ เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ชั้นที่ ๓ เป็นอุโบสถ พิพิธภัณฑ์และที่ประดิษฐาน รูปเหมือนของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชั้นที่ ๔ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งสมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายสยามวงศ์ และพระอัครมหาบัณฑิต วิมละรัตนะ เจ้าอาวาสวัดศรีเวฬุวนาราม ประเทศศรีลังกา ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุและหน่อพระศรีมหาโพธิ์ แก่พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) เมื่อปี ๒๕๔๗ ส่วนต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ปลูกไว้ ด้านหลังพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ภายในวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการไปกราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทำบุญและปฏิบัติธรรม

ลักษณะเด่น ภายในวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการไปกราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทำบุญและปฏิบัติธรรม


ประวัติ
วัดระหาน หรือวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน ภายในวัดได้ประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะขององค์พระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะประยุกต์ร่วมสมัย ความสูง 60 เมตร มี 4 ชั้น ชั้นที่ 1 ใช้ประโยชน์เป็นศาลาอเนกประสงค์ ชั้นที่ 2 เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ชั้นที่ 3 เป็นอุโบสถ พิพิธภัณฑ์และที่ประดิษฐานรูปเหมือนของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งสมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายสยามวงศ์ และพระอัครมหาบัณฑิต วิมละรัตนะ เจ้าอาวาสวัดศรีเวฬุวนาราม ประเทศศรีลังกา ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุและหน่อพระศรีมหาโพธิ์ แก่พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) เมื่อปี 2547 ส่วนต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ปลูกไว้ด้านหลังพระมหาธาตุรัตนเจดีย์
วันอาทิตย์
: 08:00 - 17:00

วันจันทร์
: 08:00 - 17:00

วันอังคาร
: 08:00 - 17:00

วันพุธ
: 08:00 - 17:00

วันพฤหัสบดี
: 08:00 - 17:00

วันศุกร์
: 08:00 - 17:00


         
วันเสาร์
: 08:00 - 17:00
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• เดินเท้า
• รถโดยสารประจำทาง
• รถยนต์


หมายเหตุเวลาทำการ : -

ปราสาทหินพนมรุ้งที่นิยมไปกัน

                      ปราสาทหินพนมรุ้ง

บ้านยายเเย้ม ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์31110
            เปิดทำการ     อาทิตย์      8:00 - 18:00
                                                   จันทร์         8:00 - 18:00
                                  อังคาร        8:00 - 18:00
                                  พุธ             8:00 - 18:00  
                                  พฤหัสบดี   8:00 - 18:00
                                  ศุกร์            8:00 - 18:00
                                  เสาร์           8:00 - 18:00   

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่บ้านตาเปก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ77กิโลเมตร การเดินทางจากนางรองใช้ทางหลวงหมายเลข24ระยะทางประมาณ15กิโลเมตร ถึงบ้านตะโก จากนั้นมีทางเเยกทางขวามือขึ้นสู่เขาพนมรุ้ง ระยะทาง12กิโลเมตร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปภาพปราสาทหินพนมรุ้ง à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วัดเขาพระอังคาร

วัดเขาพระอังคาร 
 เป็นวัดที่มีวัตถุธรรมความสวยงามของวัดพุทธศิลป์สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจความสวยงามของวัดพุทธศิลป์ผสมศิลป์ขอม  แนวเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ส่วนสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน  ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า   มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ
ลักษณะเด่น  เป็นวัดที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดก
สิ่งที่โดดเด่นคือประติมากรรมการก่อสร้างโบสถ์ ศาลา และอาคาร เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบและลักษณะเด่นตั้งอบู่บนเขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ มีเส้นทางศึกษาเรียนประเด็นใหม่นอกจากประเด็นวัดพุทธศิลป์  สามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างปราสาท 
ที่ตั้ง 
วัดเขาพระอังคาร  บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เป็นวัดที่สร้าง     มานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจแถวนี้  น่าจะสร้างในยุคเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
ความสำคัญของภูเขาพระอังคาร
เป็นแหล่งศึกษาด้านธรณีวิทยาเกี่ยวกับภูเขาไฟและมีความสำคัญเกี่ยวกับโบราณคดี ยังมีทรัพยากรหินที่สำคัญ ทรัพยากรป่าไม้หลากหลายพันธุ์ รวมทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ   ศาสนา และวิวัฒนาการในการสร้างศาสนสถานด้วยน้ำมือมนุษย์อย่างแท้จริง ในสมัยโบราณของบรรพบุรุษของชาวอิสานใต้

โบราณสถาน
วัดเขาพระอังคาร  ตั้งอยู่บนเขาพระอังคาร  บ้านสายบัว  หมู่ที่  14  ตำบลเจริญสุข  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดบุรีรัมย์  ใช้ทางหลวงหมายเชย  24  ตรงไปจนถึงสามแยกไฟแดงโรงเรียนบ้านตะโก  แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหมายเลข  2117  ผ่านบ้านดอนหนองแหน  ตรงไปบ้านโคกหัวเสือ  จะพบป้อมยามสามแยกโคกกรวด  (ตู้ยามราษฎรร่วมใจ) ให้เลี้ยวขวา แล้วตรงไปถึงหมู่บ้านเจริญสุข  แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านถนนเจริญสุขรวมมิตรเส้นกลางหมู่บ้านไปประมาณ  5  กิโลเมตรก็จะถึงเขาพระอังคาร

เขื่อนห้วยยาง

เขื่อนห้วยยาง ที่ตั้ง ต.ดอนอะราง อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์                          เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจ สวยงามบรรยา...